พันธุ์ปลาอื่นๆ

Download App

แอพหมายตกปลาพร้อมให้ download แล้วทั้ง ios และ android เพื่อความสะดวกสบายในการใช้งาน
โหลดได้ฟรีแล้ววันนี้

Download
อัพเดท วันที่ 21 พฤศจิกายน 2567

ข้อมูลปลากราย และเหยื่อที่ใช้ตกปลากราย


ลักษณะทั่วไปของปลากราย

ปลากราย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Chitala ornata) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลากราย (Notopteridae) มีปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยขอบหลังลูกตา ในตัวเต็มวัยส่วนหน้าผากจะหักโค้ง ส่วนหลังโก่งสูง ในปลาวัยอ่อนมีสีเป็นลายเสือคล้ายปลาสลาด แต่จะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงินและมีจุดกลมใหญ่สีดำขอบขาวที่ฐานครีบก้นตั้งแต่ 3-20 ดวง ซึ่งมีจำนวนและขนาดแตกต่างกันออกไปในแต่ละตัว มีขนาดโดยเฉลี่ย 60 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดที่พบคือ 1 เมตร น้ำหนักได้ถึง 15 กิโลกรัม

มักอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีกิ่งไม้ใต้น้ำหรือพืชน้ำค่อนข้างหนาแน่น อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบในแหล่งน้ำทั้งแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำทั่วประเทศไทย รวมถึงในประเทศใกล้เคียง แต่ปัจจุบันพบน้อยลงมาก

ปลากรายนับเป็นปลาน้ำจืดอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมบริโภค โดยเฉพาะใช้เป็นวัตถุดิบผลิตทอดมันหรือลูกชิ้น ราคาขายในตลาดจึงสูง ส่วนบริเวณเนื้อเชิงครีบก้น เรียกว่าเชิงปลากราย เป็นส่วนที่นิยมมาปรุงอาหารโดยนำมาทอดกระเทียมหรือชุบแป้งทอด แม้ว่าเนื้อจะมีก้างมาก แต่ก็เป็นที่นิยมเพราะมีรสชาติอร่อย นอกจากใช้เป็นอาหารแล้ว ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่น เลี้ยงในท้องร่องสวน และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ที่เลี้ยง ง่าย อดทน และจะมีราคาแพงยิ่งขึ้นในตัวที่จุดเยอะ หรือตัวที่สีกลายเป็นสีเผือก หรือสีทองคำขาว หรือในตัวที่เป็นปลาพิการ ลำตัวสั้นกว่าปกติ มีชื่อเรียกอื่น เช่น "ปลาหางแพน" ในภาษากลาง "ปลาตอง" ในภาษาอีสาน "ปลาตองดาว" ในภาษาเหนือ เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย


เหยื่อตกปลากราย

ปลากรายเป็นนักล่าที่ชอบกินลูกปลาเป็นอาหาร โดยเฉพาะปลา ซิว ปลาสร้อย การตกปลากราย มีให้เห็นทั้งเหยื่อสดและเหยื่อปลอม

การตกปลากรายด้วยเหยื่อสด

       เหยื่อสดที่ปลากรายชอบ เช่น ลูกปลานิล ลูกปลาสร้อย ลูกปลาซิว และลูกกุ้ง ปลากรายมักจะกินเหยื่อ เป็นเท่านั้น หากตายแล้วให้เปลี่ยนเหยื่อ

 

แอปหมายตกปลา

หาหมายง่าย สะดวกสบายกว่า